วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์แต่ละระบบส่วนใหญ่จะแยกทำงานกันโดยอิสระ มีเพียงระบบคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็วต่ำ จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวงเตอร์และความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต
โครงการอาร์พาเน็ตอยู่ในความควบคุมดูแลของอาร์พา (Advanced Research Projects Agency หรือ ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อย ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาทำหน้าที่สนับสนุน งานวิจัยพื้นฐานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ทุนสนับสนุน แก่หน่วยงานอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำการวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) โครงการอาร์พาเน็ต ได้ริเริ่มขึ้น โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาร์บารา, มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งนี้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างชนิดกันและใช้ระบบปฎิบัติการ ที่แตกต่างกันต่อมาเครือข่ายอาร์พาเน็ตได้รับความนิยมอย่างมาก มหาวิทยาลัย และหน่วยงานของรัฐและเอกชนต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริการได้เข้าร่วมเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา
อินเทอร์เน็ตในปะเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
 ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
 การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลกจึงมีผู้ใช้จำนวนมากเพราะการเชื่อมโยงของอินเตอร์ทำให้โลกไร้พรหมแดน  ข้อมูลข่าวสารจะติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วได้มีการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตกับงานอื่น ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
1.  Electronic  mail  หรือ  E-mail  เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล    ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับการส่งจดหมายถึงกัน  แต่ปัจจุบันการส่งไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์จะส่งเป็นรูปของตัวเลขหรือระบบดิจิตอล   จึงสามารถส่งรูป
ภาพ  เสียง  และภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย
2.  File  Transfer  Protocol    หรือ    FTP      เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน         ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างสถานีและนำไปใช้ประโยชน์ได้       เช่น        โปรแกรม  cuteFTP   โปรแกรม  wsFTP  เป็นต้น
3.  Telnet  การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย       ทำให้ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการที่อยู่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม       เช่น  การส่งโปรแกรมหรือข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างประเทศผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4.  Search  engine  ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลแต่ละอย่างอาจจะเก็บในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นสิ่งพิมพ์  รูปภาพ  ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์  ฐานข้อมูลเป็นเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาได้  ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า World  Wide  Web  หรือ  www  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงทั่วโลก
5.  USENET    การอ่านจากกลุ่มข่าวในอินเตอร์เน็ตจะมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ    แยกตามความสนใจ    ซึ่งสามารถส่งข้อความไปได้และผู้ใช้สามารถเขียนโต้ตอบได้
6.  Chat   การสนทนาบนเครือข่าย        เมื่ออินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกันทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้โดยการสนทนากันด้วยตัวหนังสือผ่านทางจอภาพ     ปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าที่มองเห็นหน้ากันด้วย
7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย  เป็นการประยุกต์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น  มีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเตอร์หลายร้อยสถานี   และยังมีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายได้ด้วย แต่ยังส่งข้อมูลจำนวนมากไม่ได้
8.  การบริการบนอินเตอร์เน็ต  ปัจจุบันมีมากมายเช่น  การเผยแพร่ข่าวสาร    ความรู้  การซื้อขายสินค้า การทำธุรกิจอิเลคทรอนิกส์  การช่วยสอน และอื่น ๆ ที่ผู้ใช้โต้ตอบได้

ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
         ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ : NECTEC) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้
-     สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
-     ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
-     นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นต้น
-     ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
-     สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-     ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่างๆก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของ ตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่างๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
          -     การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
          -     สามารถฟังวิทยุผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้
         -     สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่ามาดูได้  
          โทษของอินเทอร์เน็ต 
1. โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) อาการของโรคติดอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
          -     รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
          -     มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
          -     ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
          -     รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
          -     ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
          -     หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
       -     การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียนและความสัมพันธ์ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
          -     มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
          -     ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองตั้งใจไว้
2. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม
          ปัจจุบัน เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือย รวมทั้งคลิปวีดิโอต่าง ๆ เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชน ได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้ สามารถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิด ผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3. ไวรัส ม้าโทรจัน
           -     ไวรัส เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือ พื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
          -     ม้าโทรจัน เป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึด เมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับ อนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการและสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเรา ด้วย
          -     หนอนอินเทอร์เน็ต ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะแพร่พันธ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่งครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง

บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต
1.             ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
2.             ต้องไม่รบกวนการทำงานของผูอื่น
3.             ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือ เปิดดูแฟ้มข้อมูลของผูอื่น
4.             ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.             ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.             ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.             ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.             ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.             ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.         ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

หน่วยงานที่มีบทบาทในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ

แบบฝึกหัดบทที่ 1

1. โครงการอาร์พาเน็ต (ARPANET) อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด
                ก. หน่วยงานทหาร                                ข. กระทรวงกลาโหมของประเทศไทย
                ค. มหาวิทยาลัยยูทาห์                            ง. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
2.  มาตรฐานในการสื่อสารของระบบเครือข่ายเรียกว่า
                  ก.  Network                         . Protocol
           . International                   . Modem
3. คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายอาร์พาเน็ตใช้มาตรฐานเดียวกันคือ
                  ก. TCP/IP                                    . CIX
                  . IDP                                           . UNIX
4.  บุคคลใดของประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
                  ก. นิภาภรณ์  คำเจริญ                             ข. ดร. ศรีไพร  ศักดิ์รุ่งพงศากุล
                  ค. อาจารย์กาญจนา  กาญจนสุต             ง. อาจารย์ทวีศักดิ์  กออนันตกูล
5.  Gateway หมายถึง
                 ก. ศูนย์เชื่อม                                            ข. สายเช่า
                 ค. ระบบทางไกล                                     ง. ศูนย์กลางเครือข่าย
6.  มหาวิทยาลัยแห่งใดเป็นศูนย์กลางของเครือข่าย ThaiNet
                  ก. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                         ข. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
                  ค. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                    ง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.  BBS ย่อมาจาก
                 ก. กระดานข่าว                                       ข. การสนทนาด้วยภาพและเสียง
                 ค. การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์         ง. กลุ่มข่าว
8.  E-Learning หมายถึง
                 ก. การเรียนการสอนทางไกล                   ข. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
                 ค. การศึกษาเพิ่มเติม                                  ง. การสอบผ่านอินเทอร์เน็ต
9.  การเรียนการสอนทางไกลเป็นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านทางใด
                  ก. อินเทอร์เน็ต                                        ข. ดาวเทียม
                  ค. ไปรษณีย์                                             ง. โทรทัศน์

10.  โดเมนสัญชาติไทยคืออะไร
                   ก. (.com)                            . (.ro)
            . (.th)                               . (.at)
เฉลยแบบฝึกหัด
1.           2.          3.          4.
5.           6.          7.          8.
9.           10.




         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น