วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เครือข่ายใยแมงมุม

เครือข่ายใยแมงมุม
 เครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW (World Wide Web) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เว็บเป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่ายใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดนและกลายเป็นแหล่งทรัพยากรของกระบวนการเรียนการสอน ที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
    เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนาแฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมทำให้ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบิรการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่ม เมาส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (งามนิจ อาจอินทร์. 2542)
    ส่วนประกอบของเวิลด์ไวด์เว็บจำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบสองส่วน ที่สำคัญดังนี้
1) แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
2) โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
    แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์ คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูเว็บเพจที่เก็บอยู่ในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) หรือวินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่น เว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์ http://www.swu.ac.th เป็นต้น เว็บเพจ เป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปของแฟ้มข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงได้โดยใช้ประแกรมประเภท Browser เช่น Netscape หรือ Internet Explorer ความยาวของเว็บเพจนั้นไม่แน่นอน อาจจะมีความยาวหลายหน้ากระดาษก็ได้ ถ้าเว็บเพจนั้นเป็นเพจแรกของไซต์นั้น ๆ ซึ่งมักมีสารบัญของเนื้อหาของไซต์นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (HomePage)
    การเข้าถึงเว็บเพจใดๆ นั้น ผู้ใช้จะต้องทราบตำแหน่งที่อยู่ของเพจนั้น ๆ บนเว็บเสียก่อน ตำแหน่งที่อยู่เหล่านี้ เรียกว่า URL (Uniform Resource Locators) ตัวอย่างของ URL ได้แก่
http://www.swu.ac.th URL ที่เป็นโฮมเพจของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
http://www.tv5.co.th URL ที่เป็นโฮมเพจของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5
http://www.yahoo.com URL ที่เป็น โฮมเพจของ Yahoo
http://www.google.com URL ที่เป็น โฮมเพจสืบค้นข้อมูล
http://www.drpaitoon.com URL ที่เป็นโฮมเพจเทคโนโลยีการศึกษา ของ ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า เป็นต้น


หมายเลขประจำเครื่อง(ip address)
         หมายเลขประจำเครื่อง  หรือที่อยู่(address) ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละคน จะมีที่อยู่ประจำเครื่อง ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลขระบุตำแหน่ง เช่น 202.44.202.22 เป็นต้น แต่ระบบตัวเลขนี้จะสามารถจดจำได้ยาก และไม่สื่อความหมายต่อผู้ใช้ ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นระบบตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำและสื่อให้เข้ากับงานเรียกว่า
DNS(Domain Name System)  โดยเรียงลำดับความสำคัญ ของชื่อจากขวาไปซ้าย เช่น

1202.244.3202.422
1www.2tu.3ac.4th
1. www มาจาก World Wide Web
2.  tu มาจาก Thammasat University
3.  ac มาจาก Academic (ด้านวิชาการ)
4. th มาจาก thailand (ชื่แประเทศ)
หลักในการตั้ง DNS มีหลักการดังนี้
·         ชื่อทางขวาสุดจะบอกชื่อประเทศ เช่น th-ประเทศไทย ,uk-ประเทศอังกฤษ , ca-ประเทศแคนาดา
·         ลำดับถัดจากชื่อประเทศเป็นลักษณะการดำเนินงานขององค์กร คือ
com = Commercial =  ใช้ในกิจการธุรกิจการค้า บริษัท ห้างร้าน
edu = Education     =  ใช้ในสถาบันการศึกษา
gov = Government =   ใช้ในหน่วยงานราชการ
·         ลำดับถัดมาจากขวา เช่น
        ac   = Academic        =   สถาบันการศึกษา
        co   = Commercial     =   องศ์กรภาคเอกชน
        go   = Government    =   หน่วยงานราชการ
        or    = Organization    =   องศ์กรรัฐวิสาหกิจ
        net  = Network            =  องศ์กรที่ให้บริการระบบเครือข่าย

โดเมนเนม
ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้
ตัวอย่าง
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน
ยูอาร์แอล:
โดเมนเนม: example.com
ซับโดเมน : subdomain.example.com
โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โปรโตคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ
ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 192.0.34.166 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:
example1.com
example2.net
example3.org
เมื่่อมีคำร้องขอ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชื่อโฮสต์ก็จะถูกร้องขอเช่นกัน เพื่อส่งไปยังผู้ใช้

รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล

 
ในการสืบค้นข้อมูลนั้นจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูล  ซึ่งมีอยู่หลายประเภท  ได้แก่         
 1.  โปรแกรมอาร์คี (Archie)  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูลที่เราทราบชื่อ  แต่ไม่ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ของแฟ้มข้อมูล  ว่าอยู่ในเครื่องบริการใดๆ ในอินเตอร์เน็ต  โดยโปรแกรมอาร์คีนั้นจะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ใน ฐานข้อมูล  ซึ่งหากเราต้องการค้นหาตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลก็เปิดโปรแกรมอาร์คีนี้ขึ้นมาล้วให้พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูล ที่ต้องการลงไป  โดยโปรแกรมอาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลให้ปรากฏชื่อแฟ้ม และ รายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นขึ้นมา ซึ่งหลังจากทราบชื่อเครื่องบริการแล้วเราก็จะสามารถใช้ FTP ถ่ายโอนเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราไ้้ด้
 2.  โปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูล  ซึ่งใช้บริการด้วยระบบเมนูโปรแกรมโกเฟอร์ เป็นโปรแกรม ที่มีรายการเลือก  เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูล
การใช้งาน โปรแกรมนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบ รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมโยงอยู่กับอินเตอร์เน็ตใดๆ เลย  เราแค่เพียงเลือกรายการที่ต้องการในรายการเลือก และกดปุ่ม <Enter> ซึ่งเมื่อมีข้อมูลแสดงขึ้นมาแล้ว เราก็สามารถอ่านข้อมูลนั้น และบันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
 3.  โปรแกรม Veronica เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่ได้รับการพัฒนามาจากโปรแกรมโกเฟอร์  โดยการค้นหาข้อมูล  จะทำได้โดยไม่ต้องผ่านระบบเมนู  เพียงแค่พิมพ์คำสำคัญ  หรือ  ให้ระบบได้ทำการค้นหาข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword
4.  โปรแกรมเวส (Wide Area Information Server-WAIS)  เป็นโปรแกรมที่เป็น
เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล โดยทำการค้นหาจากเนื้อหาของข้อมูล  ซึ่งการใช้งา้นต้องระบุ
ุชื่อเรื่อง  หรือชื่อของคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของข้อมูล ที่ต้องการ  ซึ่งโปรแกรมเวสจะช่วยค้นหาไปยังแหล่งข้อมูลที่เชื่อมต่ออยู่ภายในอินเตอร์เน็ต
5. โปรแกรม Search Engines เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  โดยให้พิมพ์คำ  หรือข้อความที่เป็น Keyword จากนั้นโปรแกรม Search
Engines จะแสดงรายชื่อของแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ี่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้เราได้เลือกคลิกที่รายชื่อของแหล่งข้อมูลนั้น  เพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการได้  ซึ่งการจัดการแหล่งข้อมูลเหล่านั้นโปรแกรม Search Engines จะจัดไว้เป็นเมนู  โดยเริ่มจากข้อมูลในหมวดใหญ่ๆ ไปจนถึงข้อมูลในหมวดย่อยๆ   

การเชื่อมโยงข้อมูล   
เป็นที่ ทราบดี อยู่ แล้วว่า การที่ อินเตอร์เนต ได้รับความนิยม อย่างกว้างขวางอยู่ทั่วโลกนั้นเป็ ผลมาจากความ สามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล จากฐานข้อมูล หนึ่ง ไปยังอีก ฐานข้อ มูลหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถ เชื่อมโยงข้อความ ได้ทั้ง จากภายใน แฟ้มเอกสาร ข้อมูลของตัวเอง และแฟ้มเอกสารข้อมูลภายนอกที่ต่างเว็บไซต์กัน
ข้อความ ที่ถูกกำหนดให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลอื่น ๆ บนเว็บเบราเซอร์จะแสดงผลเป็นตัวอักษร ที่มีสีแตกต่างจากอักษรทั่วไป และอาจจะมี ขีดเส้นใต้ข้อความนั้นด้วย โดยทั่วไป ตัวอักษรที่แสดง ผลอยู่บน เวบเบราเซอร์ จะมีสีดำ ปนขาว (หรือสีเทา) แต่สำหรับ ข้อความ ที่ใช้เป็นตัวเชื่อมข้อมูลนั้นจะเป็นตัวอักษร สีน้ำเงิน หรือ อย่างอื่น ตาม ที่สร้างขึ้นมาเมื่อเลื่อน เมาส์ ไปชี้ที่ ข้อความ ซึ่ มีการเชื่อมโยงของรูปแบบ ตัวชี้ จะเปลี่ยนจาก สัญลักษณ์ ลูกศร ไปเป็นรูป มือแทน และที่บริเวณแถบแสดงสถานะด้านล่าง จะแสดงถึงตำแหน่งของจุด หมายที่ ข้อความจะเชื่อมโยงไปให้เราเห็น
ประเภทการเชื่อมโยง- การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์
- การเชื่อมโยงข้อมูลนอกเว็บไซต์
- การเชื่อมโยงข้อมูล FTP
- การเชื่อมโยงข้อมูล E-Mail


แบบฝึกหัด บทที่ 5
1. ระบบ (World Wide Web) ได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงใด
             ก. ปลายปี 1989                        ข. ปลายปี 2000
            ค. ต้นปี 1989                ง. ต้นปี 2000
2. บุคคลใดเป็นผู้พัฒนาระบบ (World Wide Web)
            ก. ทิมเบอร์เนอร์ลี            ข. สตีฟ จ็อป
             ค. กาญจนา  กาญจนสุต            ง. เจฟฟ์ เบโซส์
3. การกำหนดหมายเลข IP Address ประกอบด้วยเลขฐานจำนวนกี่ชุด
            ก. 4 ชุด                         ข. 8 ชุด
            ค. 6 ชุด                         ง. 5 ชุด
4.  IP Address อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด
            ก. InterNIC            ข. NSI
          ค. ISP                    ง. InterMAC
5. การแบ่งกลุ่มของ IP Address สามารถแบ่งออกเป็นกี่คลาส
            ก. 8                              ข. 9
            ค. 5                              ง. 10
6. ในประเทศไทยหน่วยงานใดมีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain name)
          ก. THNIC               ข. KIOP
          ค. THAI                           ง. VRTY
7.  Park  หมายถึง
            ก. การจองโดเมน            ข. การบันทึกโดเมน
            ค. การขอโดเมน              ง. การกำหนดโดเมน
8. การจดโดเมนเนม (Domain name) ใช้ได้กี่ปี
            ก. 8                              ข. 5
            ค. 2                              ง. 3
9.  .ac เป็นโดเมนขององค์กรใด
            ก. บริษัท                        ข. สถาบันการศึกษา
            ค. รัฐบาล                      ง. องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
10. รูปแบบของ URL มีกี่ส่วน
            ก. 3                              ข. 5
            ค. 8                              ง. 9

เฉลยแบบฝึกหัด
1.          2.         3.
4.          5.         6.
7.          8.         9.
10.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น