วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฎหมายและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่     
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)  เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


6-2

   2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
                        เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)   เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้              
  4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
                           เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ               
5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
                           เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม              
  6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
                          เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
มาตราการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
หน้า ๔เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. ๒๕๕๐ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
หน้า ๕ เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้นผู้ให้บริการหมายความว่า

(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตามพนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน้า ๖เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด
หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐

(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน
สองแสนบาท

(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
หน้า ๗เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ
มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)
(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
หน้า ๘เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐

(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี
เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด

(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยัง
มิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
หน้า ๙เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด
แห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้
ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต
1. หลีกเลี่ยงการพบคนแปลกหน้าทาง Internet – วัยรุ่นมักจะพูดคุยหรือหาเพื่อน มีสังคมของเขาโดยทำการพิมพ์ข้อความเสนทนาผ่านพวก Instant Messenger (IM หรือโปรแกรมสนทนา) สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาที่เราเห็นบ่อยๆ คือการนัดหมายพบปะกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ไม่ควรนัดพบเจอบุคคลแปลกหน้าในที่ลับตาคน หรือนัดไปกัน 2 ต่อ 2 ถ้าจะมีการพบเจอกันจริงๆ ควรพาเพื่อน หรือบุคคลที่สนิทไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกพาไปล่อลวง ข่มขืนหรือกระทำชำเรา

2. หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัวเช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์มือถือจริงบนเว็บไซต์ที่ไม่ได้มาตรฐาน (เว็บไซต์ที่ดีจะมีตัวช่วยในการปกปิดข้อมูลเหล่านี้ได้)เพราะว่าการที่เราเข้าไปพูดคุยกับคนแปลกหน้านั้น หรือเว็บหาเพื่อน หาคู่ทั้งหลาย ไม่ควรอย่างยิ่ง ที่เราจะให้ข้อมูลส่วนตัวเหล่านั้นไป เพราะเราเองไม่สามารถทราบได้เลยว่าเขามีความคิดอย่างไรกับเรา วันดีคืนดีคุณอาจจะได้รับโทรศัพท์ หรือ SMS ทั้งวันโดยที่นอกจากคุณจะรำคาญแล้ว บางทีอาจจะมีคนโทรมาว่ากล่าวตำหนิคุณเนื่องจากพวกโรคจิตเอาเบอร์โทรศัพท์ หรือชื่อเล่นของคุณที่คุณไปโพสต์ไว้ เอาไปโพสต์ต่อไว้ในกระทู้ก็เป็นได้

3. อย่าปล่อยให้บุตรหลานของท่านอยู่บนโลกของเกมส์ออนไลน์มากจนเกินไปแท้ที่จริงแล้วเกมส์ที่ดีสามารถช่วยในการพัฒนาทักษะ ตรรกะ ไหวพริบ ปฏิภาณฯ แต่สิ่งที่แอบแฝงมากับเกมส์ออนไลน์สมัยนี้กลับกลายเป็น ยาเสพติดทำนองที่ว่า ไม่ติดแต่ขาดไม่ได้ ถ้าความสามารถของตัวละครในเกมส์ไม่เพิ่ม วันนี้ไม่นอน (เสียทั้งสุขภาพกายและจิตใจ)
- เกมส์สมัยนี้มีทั้งเรื่องเพศที่แฝงมากับสื่อ ซึ่งโลกความจริงที่คุณและเขาเป็นไม่ได้ แต่โลกเสมือนจริงนั้นทำได้ ตัวตนแท้จริงของผู้เล่นเป็นเด็กผู้ชาย แต่อยากกลายเป็นผู้หญิงทำให้ความคิดของเด็กถูกสิ่งเร้าและอยากให้เกิดความ รู้สึกในการเบี่ยงแบนทางเพศ
- การซื้อขายของในโลกเสมือนจริง - การซื้อบัตรเติมเงินเพื่อแลกของหรือ Item ในเกมส์ที่มาในรูปแบบของการซื้อการ์ดตามร้านสะดวกซื้อ หรือผ่านโทรศัพท์มือถือในการเติมแต้ม ซึ่งโลกความจริงคุณกำลังเอาเงินไปแลกกับรหัส 0 กับ 1 เพื่อให้ได้ความรู้สึกว่า คุณแข็งแกร่งมากในเกมส์ แต่คุณกลับอ่อนแอมากในโลกความจริง พ่อแม่ควรอบรมดูแลให้เด็กได้เรียนรู้จักโลกความจริง โลกเสมือนจริง ให้เขาได้เข้าใจและแยกแยะได้ และเด็กบางคนไม่เข้าใจว่าเงินที่พ่อแม่หามาได้อย่างยากลำบากนั้นกำลังสูญไป กับความบันเทิงที่จับต้องไม่ได้
- เกมส์มีความทารุณโหดเหี้ยม ซึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก การที่เด็กไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเกมส์บางเกมส์ไม่เหมาะสำหรับอายุของเขา ผมแนะนำว่าท่านอย่าปล่อยให้เขาเล่น แม้ความรู้สึกของท่านจะคิดว่ามันไม่เสียหาย แต่เป็นเพราะว่าเกมส์ที่ยิงกันมีเลือดพุ่ง มีการทำร้ายร่างกายกัน สิ่งเหล่านี้เด็กสามารถรับ และซึมซับได้ง่ายอย่างมาก และส่งผลต่อความคิด การกระทำของเขาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ บางทีเขาอาจจะหยิบมีดแทงใครซักคนด้วยความแค้นโดยที่เขาไม่รู้สึกผิดก็ได้
4. ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้บุตรหลานของคุณใช้เน็ตในที่ลับตาคนบางครอบครัวเอาคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอนของลูกๆ โดยที่ไม่ได้สอดส่องดูแล จึงมักจะเป็นข่าวที่ว่า มีนัดหมายกันออกไปและกระทำผิดทางเพศกัน บางรายที่พ่อแม่ซื้อกล้อง (Webcam) ให้ลูกก็มีข่าวถึงการโชว์เนื้อหนังผ่านทางกล้องและถูกบันทึกไปลงใน Internet และถูกข่มขู่กันก็มี หรือบางรายถูกล่อลวงหายไปจากบ้านจนพ่อแม่ต้องไปแจ้งความ หรือบางรายถูกข่มขู่ให้ทำผิดทางเพศก็มี อยากจะแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ พ่อแม่ควรจะสอดส่องดูแล ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในที่ๆ ผู้ปกครองสามารถสอดส่องดูแลเขาได้ หรือควรจะตรวจเช็คประวัติการใช้งานของลูกคุณบ้าง คอยตักเตือนเขาเมื่อเข้าไปในเว็บที่ไม่เหมาะสม(พ่อแม่จำเป็นต้องเรียนรู้ เรื่องเทคโนโลยีให้เป็นและใช้เวลากับเขาด้วย)

5. ควรหลีกเลี่ยงในการโพสต์ด่าด้วยข้อความหยาบคาย เขียนข้อความที่ลบหลู่ในเรื่องของบุคคล ชาติ ศาสนา หรือพระมหากษัตริย์ หรือส่งต่ออีเมล์ที่มีเนื้อหาข้อความดังกล่าวข้างต้นไปยังผู้อื่นโดยขาด สำนึก และรับผิดชอบอย่างรูปที่ไม่เหมาะสม คลิ๊ปวีดีโอจากโทรศัพท์ การเขียนข้อความด่าทอเพื่อความสะใจ หรือคำติฉินนินทาผุ้อื่นนั้น สามารถเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้ (เพราะทุกๆ ข้อความที่คุณโพสต์จะมี IP Address ในการใช้งาน) และสิ่งที่เป็นเรื่องไม่ดีนั้นสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับการ แพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งคุณอาจจะเป็นชนวนหรือตัวแปรตัวนึงในการตัดสินและทำลายชีวิตคนอื่นให้พัง ได้เพียงแค่คลิ๊กเดียวเท่านั้น

6. หลีกเลี่ยงการใช้งาน ซอฟแวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์หลายๆ คนอาจจะชอบใช้ซอฟแวร์ที่ผิดกฎหมาย บางคนก็ดาวโหลดเพลง หนัง ละคร โปรแกรม มาเพื่อใช้งาน แต่ถ้าทุกคนละเมิดลิขสิทธิ์หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ผมเชื่อได้เลยว่าการทุ่มเทเวลาของคนที่สร้างสรรค์ผลงานอาจจะกลายเป็นของราคา ถูกโดยการขาดจิตสำนึกของผู้ใช้งาน อย่าสร้างค่านิยมผิดๆ ที่ว่า ใช้ของ copy แล้วไม่เสียหาย เพราะใครๆ เขาก็ใช้กัน

7. หลีกเลี่ยงการเปิดเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เว็บโป๊ เว็บที่มีภาพยั่วยวนทางเพศ เว็บไซต์ที่มีการดาวโหลดซอฟแวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เว็บไซต์ที่สอนการโจรกรรมข้อมูลฯ เพราะเว็บไซต์เหล่านี้ตัวคุณเองอาจจะเป็นคนถูกโจรกรรมข้อมูลเสียงเอง หรือได้รับสิ่งที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาในเครื่อง อย่างเช่นไวรัส หรือหนอนคอมพิวเตอร์ (Worms) และสิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นคือถ้าบุตรหลานของคุณใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ แล้วอยู่ดีๆ มีหน้าต่างที่เปิดขึ้นเองอัตโนมัติเป็นรูปที่ไม่พึงประสงค์ และพวกเขาเข้าไปคลิ๊ก อะไรจะเกิดขึ้น

8. ระวังอย่าหลงเชื่อคำโฆษณา หลวงลวง ต้มตุ๋น จากการซื้อขายสินค้าผ่านสื่อ Internet – เนื่องจากสินค้าที่คุณซื้ออาจจะเป็นของปลอม หรือของไม่ได้คุณภาพก็ได้ อย่าคิดแต่ได้ของถูก ใช้งานแบบว่าได้ผลทันตาเห็นแบบดื่มปุ๊บกินปั๊บคุณกลายเป็นยอดมนุษย์ พวกมิจฉาชีพส่วนใหญ่มักจะให้คุณโอนเงินไปก่อนเสมอ และลวงให้คุณกรอกที่อยู่ ทั้งๆ ที่คนเลวพวกนี้ไม่มีที่อยู่จริง บ้างก็จะปิดโทรศัพท์หนีหายหลังจากที่คุณโอนเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็มี เรื่องของการซื้อขายของสินค้าควรศึกษาให้ดีถึงตัวเว็บไซต์ที่ทำการเปิดขาย ว่ามีคุณภาพหรือไม่ หรือคุณภาพของสินค้าเองก็ดี หรือเว็บไซต์นั้นๆ มีการจัดระดับความน่าเชื่อถือของผู้ขายสินค้าหรือไม่ มีที่อยู่ติดต่อที่สามารถตามผู้ซื้อได้ไหม

9. อย่าหลงเชื่อจดหมายลูกโซ่ จดหมายเวียน หรือโฆษณาชวนเชื่อเช่นถ้าคุณได้รับจดหมายฉบับนี้ ให้ส่งไปหาเพื่อนอีก 15 คนแล้วคุณจะได้รับสิ่งนั้นสิ่งนี้ ตัวคุณเองจะกลายเป็นคนปล่อยเมล์ขยะเสียเอง

10. อย่าเปิดอ่านอีเมล์ หรือรับไฟล์จากคนที่คุณไม่รู้จักเพราะสิ่งที่ไม่พึงประสงค์อาจทำให้เครื่องของคุณไม่สามารถใช้งานได้ก็เป็น ได้ หรือบางทีคุณอาจจะได้รับเมล์ขยะเพิ่มเป็นจำนวนมหาศาลโดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย เพราะการที่คุณเปิดอ่านจะมีการส่งข้อมูลกลับไปยังผู้ส่ง Spam mail (เมล์ขยะ) ว่าอีเมล์ของคนที่เปิดอ่านยังมีการใช้งานอยู่ เพราะฉะนั้นคนส่งก็ยิ่งส่งมาเพิ่มให้อีก

11. อย่าหลงเข้าไปเล่นการพนันบน Internet – อาจทำให้คุณหมดตัวจากบัตรเครดิต หมดเนื้อหมดตัวโดยไม่รู้ตัว เว็บพวกนี้มันจะลวงให้ผู้เล่นเข้าไปเล่นโดยจะบอกว่าให้เงินทดลองเล่น เมื่อผู้เล่นติด ภายหลังคุณอาจจะเพิ่งคิดได้ว่าโลกนี้คนเราก็แพ้เป็นเหมือนกัน และการหมดตัวเพียงชั่วเวลาแป๊บเดียวมันมีจริงเรื่องบางเรื่องไม่ไกลเกินนิ้วมือที่คลิ๊กจริงๆ

อาชญากรรทางคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่น ข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และ แหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่
          Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง บุลากรในองค์กร หน่วยงานคุณไล่พนักงานออกจากงาน, สร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน นี่แหล่ะปัญหาของอาชญกรรมได้เช่นกัน
          Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้

          Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
          CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
          Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมาใช้งานได้ทันที
          Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไปจู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
          Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
          Malicious scripts ก็เขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน มั่นใจหรือว่าไม่เจอปัญหา อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแผงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั่นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยเราเองไม่รู้ว่าเรานั่นแหล่ะเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นด้วยตนเอง น่ากลัวเสียจริงๆๆ
          Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
บัญญติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต
1.            ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
2.            ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.            ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือ เปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.            ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.            ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.            ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.            ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.            ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.            ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.    ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
วิธีประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
            อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้
            1. พวกมือใหม่ (Novices) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้ ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำผิด  อาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            2.  Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
            3.  Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
            4.  Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
            5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
            6.  Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
            7. Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ
            8. นักเจาะข้อมูล (Hacker) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยีเข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ 
            9. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่นพวกลักเล็กขโมยน้อยที่ พยายามขโมยบัตร ATM ของผู้อื่น
            10. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่นพวกที่มักจะใช้ ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น  
ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรงในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1.            การเงิน อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) 
2.            การละเมิดลิขสิทธิ์ การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 
3.            การเจาะระบบ การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4.            การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5.            ภาพอนาจารทางออนไลน์ ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุม ทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้ แย้งอย่างกว้างขวาง 
6.            ภายในโรงเรียน ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

แบบทดสอบ
1. Electronic Transactions Law หมายถึงอะไร
ก.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ข.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ค.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ง.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

2. Electronic Funds Transfer Law หมายถึงอะไร
ก.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ข.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ค.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ง.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

3.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ก. Electronic Funds Transfer Law
ข. Electronic Transactions Law
ค. Electronic Signatures Law
ง. Electronic Law

4.ข้อใดไม่ได้อยู่ใน บัญญติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต
ก.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
ข.ต้องรบกวนการทำงานของผู้อื่นให้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ของตน
ค.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือ เปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
ง.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5. Spam mail หมายถึง
ก.เมล์ใช้งาน
ข.เมล์ขยะ
ค.ขยะในเมล์
ง.เมล์ในขยะ


6.การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) อยู่ในมาตราใด
ก. มาตรา ๑๖               ข.มาตรา ๑๗
ค.มาตรา ๑๘                ง. มาตรา ๑๙

7. รับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ
ก.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ข.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ค.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ง.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
8.กำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ก.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ข.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ค.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ง.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

9.อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด เป็นความหมายของข้อใดต่อไปนี้
ก.ระบบคอมพิวเตอร์
ข.ระบบเครือข่ายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ค.ระบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ง.ไม่มีข้อใดถูก

10.กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก
ก.กทนช
ข.กทสช
ค.กนสช
ง.กทหช

เฉลยแบบทดสอบ
1.     2.     3.    4.     5.     6.     7.     8.     9.     10.

การสนทนาออนไลน์

การสนทนาออนไลน์
                การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดขึ้นสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนา ให้คนอื่น ๆ ที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) นั้น ๆ ได้เห็นว่า ผู้เล่นสนทนาคนอื่น ๆ สามารถเข้าสนทนาได้
บริการสนทนาออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เป็นการสื่อสารผ่านข้อความ เสียง และรูปภาพจาก Webcam โดยมีการโต้ตอบกันอย่างทันทีทันใด (real-time) มีลักษณะเดียวกันกับการสนทนาโดยโทรศัพท์ ต่างกันตรงที่ผู้สนทนาจะสื่อสารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียงให้กันโดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล
              การสนทนาออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะใช้งาน ข้อดีที่คือการได้รู้จักผู้คนมากขึ้น ได้แนวความคิดหลากหลาย มองโลกได้กว้างขึ้นโดยที่เป็นการลดช่องว่างด้านเวลา และสถานที่ ทำให้ได้รับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นพร้อมกับเผยแพร่ประสบการณ์ของตัวเองที่เป็นประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์  ส่วนข้อเสียเป็นอาการติดสนทนาออนไลน์ไม่สนใจกิจกรรมอื่นนอกจากสนทนาออนไลน์
                 รูปแบบการสนทนาออนไลน์ ในปัจจุบันมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มสีสันการสนทนามากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ความน่าสนใจ ทำให้เข้ามาสนทนาพูดคุย สามารถแบ่งรูปแบบการสนทนาออนไลน์อย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ Web Chat, Web Board และโปรแกรมสนทนาออนไลน์ Web Chat เป็นการสนทนาโดยผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มสนทนาแล้วทุกคนที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์นั้นสามารถได้รับข้อความนั้นได้พร้อม ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้องสนทนา (chat room) เป็นการเข้าไปคุยกันในเว็บที่จัดให้บริการ เป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ รูปแบบ และบรรยากาศของห้องคุยก็จะขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์เว็บบริการนั้น ๆ ว่าให้ความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งแต่ละห้องจะมีคนพูดคุยพร้อม ๆ กันหลายคน
    รูปแบบการสนทนาออนไลน์ (Chat)
การสนทนาออนไลน์ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง
                เป็นลักษณะการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม โดยผู้สนทนาจะพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารผ่านไปยังเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความเหล่านั้นออกมาแสดงบนหน้าจอของทุกคนที่กำลังติดต่อกับกับเซิร์ฟเวอร์อยู่ซึ่งเราเรียกว่า ห้องสนทนา (Chat Room)
                วิธีการสนทนาออนไลน์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์กลาง จะมีเทคนิคเพื่อให้เลือกใช้บริการดังนี้
                1. การสนทนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม คือ ลักษณะการสนทนาด้วยข้อความในห้องสนทนาโดยใช้โปรแกรมของแต่ละเครื่องของผู้ใช้ มีเซิร์ฟเวอร์มากมาย เช่น PIRCH,mIRC และ Comic Chat
                2. การสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บ (Web Chat) คือ รูปแบบของการนำวิธีการทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์มาทำให้เกิดห้องสนทนา บนเว็บเพจของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ โดยไม่ต้องมีโปรแกรมรันอยู่บนเครื่องของผู้สนทนา ปัจจุบันการสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บได้นำเทคโนโลยี จาวา (Java) มาใช้เขียนโปรแกรม

ขั้นตอนการสนทนาแบบ Chat Room
1.พิมพ์ URL ที่ช่อง Address: htt://www.sanook.com
2.คลิกเลือกที่ คุยสด จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
Java Chat ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรม Java Applet ก่อน จึงจะสามารถสนทนารูปแบบนี้ได้Classic Chat เป็นรูปแบบดั้งเดิของการสนทนาออนไลน์โดยผ่ามเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆเพิ่มเติม
3.เมื่อเลือก Ciassic Chat จะมีรายชื่อของห้องสนทนาต่างๆภายในเซิร์ฟเวอร์แสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกตามควมสนใจ เพื่อจะได้เข้าไปคุยกับเพื่อนๆภายในห้องสนทนาที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
4.เมื่อเลือกห้องที่ต้องการสนทนาได้แล้ว จะปรากฎเว็บเพจในการแนะนำวิธีการ Log on เพื่อขอใช้บริการ พร้องทั้ให้พิมพ์ชื่อ และสีของข้อควมที่ต้องการใช้ระหว่างการสนทนจา เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ "เข้าห้อง"
5.เมื่อเข้าไปภายในห้องสนทนาแล้ว จะปรากฎชื่อของสมาชิกทั้งหมดภายในห้องสนทนานี้ และการสนทนาสามารถเลือกได้ว่าจะส่งข้อความถึงใคร หรือส่งถึงทุกคนภายในห้องก็ได้ แต่ขอความที่แสดงบนหน้าจอ ทุกคนที่อยู่ภายในห้องสนทนานั้นจะเห็นด้วยกันทั้งหมด
6.เมื่อเลิกผู้สนทนาที่เราต้องการส่งข้อความถึงแล้วนั้น เราก็ทำการพิมพ์ข้อความที่ต้องการจะส่งไป แล้วเลือกคลิกที่ Update ข้อความของเราจะไปปรากฎบนหฟน้าจดของทุกคนที่ใช้ห้องสนทนานี้
7.เมื่อต้องการออกจากหน้าสนทนา ให้คลิก Logoff
8.เพียงการทำงานตามขั้นตอนนี้ เราก็สามารถไปห้องสนทนายังห้องต่างๆได้โดยไม่ต้องทำการลงทะเบียนสมัครป็นสมาชิของเว็บไซต์ที่ให้บริการเหล่านั้น และเมื่อทำการ Logoff ออกจากห้องสนทนาห้องใดห้องหนึ่งแล้ว ก็สามารถที่จะเปลี่ยนไปสนทนายังห้องอื่นๆต่อไปได้อีก

การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
                การสนทนาออนไลน์รูปแบบนี้จะไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการรับส่งสารแบบทันทีทันใด หรือ Instant Messaging เช่นโปรแกรม ICQ,MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น จะเป็นรูแบบของการสนทนาแบบตัวต่อตัว มิใช่ลักษณะการสนทนาในแบบห้องสนทนา

เว็บไซต์ที่ให้บริการสนทนาออนไลน์
http://www.thaimsn.com                 http://www.icq.com
http://www.simpirch.com                http://www.thaichat.net
http://www.thaiware.com/chat       http://chat.mthai.com

                           แบบฝึกหัด
1. Chat Room หมายถึง
                ก. ห้องสนทนา                    ข. ห้องคุย
                ค. ห้องกลุ่ม                          ง. พูดคุย
2. การสนทนาออนไลน์มีหลายรูปแบบโดยมีการแบ่งตามอะไร
                ก. วิธีการสื่อสาร                  ข. วิธีการเข้าห้องสนทนา
                ค. วิธีจับกลุ่ม                        ง. ตามเซิร์ฟเวอร์กลาง
3. การสนทนาออนไลน์ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลางเป็นลักษณะการสนทนาแบบใด
                ก. แบบกลุ่ม                          ข. แบบคู่
                ค. แบบห้องรวม                  ง. แบบห้องส่วนตัว
4. ห้องสนทนา (Chat Room) จะจัดแบ่งห้องสนทนาตามหัวข้อใด
                ก. หัวข้อที่ต้องการสื่อสาร ข. หัวข้อที่ต้องการเฉพาะ
                ค. หัวข้อที่เราสนใจพูดคุย ง. ลักษณะของบุคคล
5. ข้อใดคือการสนทนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม
                ก. PIRCH                             ข. mIRC
                ค. Comic Chat                    ง. ถูกทุกข้อ
6. วิธีการสนทนาออนไลน์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์กลาง มีกี่เทคนิค
                ก. 2                        ข. 3                        ค. 4                        ง. 5
7. ข้อใดคือการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์กลาง
                ก. IRC                   ข. PIRCH             ค. mIRC               ง. Comic Chat    
8. การสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บได้นำเทคโนโลยีใดเข้ามาใช้ในการเขียนโปรแกรม
                ก. จาวา                                  ข. ซี
                ค. HTML                             ง. ICQ
9. การสนทนาแบบสดแบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ
                ก. 2                        ข. 3                        ค. 4                        ง. 5
10. การสนทนาออนไลน์ที่ไม่ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์กลางเรียกว่า
                ก. การรับส่งสารแบบทันทีทันใด
                ข. การรับส่งสารแบบข้ามวัน
                ค. การรับส่งสารแบบเดือนต่อเดือน
                ง. การรับส่งสารแบบนาทีต่อนาที

เฉลยแบบฝึกหัด
1. ก        2. ก       3. ก        4. ก        5. ง        6. ก        7. ก        8. ก        9.         10. ก