วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารในปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์กำลังมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยมีขอบข่ายเชื่อมโยงเกือบทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้ยังเป็นเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเตอร์เน็ตประกอบด้วย เครือข่ายย่อยจำนวนมาก เชื่อมเข้าด้วยกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นเสมือนขุมทองแห่งใหม่เพราะเป็นที่รวมของข้อมูลข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ทำให้โลกที่กว้างใหญ่ไพศาลแคบเข้ามาอีก (สุภางค์ กุณวงษ์ และดารารัตน์ จุฬาพันธุ์. 2540 : 39) ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมาย ทั้งทางด้านการศึกษา การบันเทิง การติดต่อสื่อสารทางจดหมาย การซื้อของ หรือสนุกกับการมีเพื่อนใหม่บนอินเตอร์เน็ต บริการค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยใช้ search engine ก็เป็นอีกบริการหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต (Internet) ที่เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เราต้องการได้ (ชฎิล แก้วปลั่ง. 2543 : 3)
1. ประเภทของการค้นหาข้อมูล
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป
ประเภท Search Engine
1. Keyword Index   เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในWeb Pageที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ ตัวอักษรแรกของWeb Pageนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง Alt  ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสั่งของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
2. Subject Directories   การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละWeb Page ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาWeb Page ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือWeb Pageที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือWeb Pageที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้
3. Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
การทำงานของ Search Engine  ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ
1. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
2. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด
3.โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล
2. เทคนิคในการค้นคว้าข้อมูล
การที่เราจะหาข้อมูลอะไรสักอย่าง เมื่อก่อนช่างยากแสนยาก ต้องไปหาหนังสือมาอ่าน หรือไปหาตามแหล่งต่าง ๆ แต่ทุกวันนี้การค้นหาข้อมูลเหล่านี้ ทำได้ง่ายมาก โดยจะมีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล เช่น google , yahoo , Infoseek, Excite ,Lycos ,Siamguru , Sanook เหล่านี้ล้วนมีบริการค้นหาข้อมูลทั้งนั้น แต่ในฉบับนี้เราจะแนะนำการค้นหาข้อมูลโดยใช้ Google แต่ก็สามารถนำไปใช้กับเว็บอื่นได้นะครับในการค้นหาข้อมูล เราต้องหาคำศัพท์ที่จำเพราะเจาะจง อย่าใช้ข้อความยาว ๆ แต่ให้ใช้ข้อความที่เป็นลักษณะสำคัญ เช่น เราต้องการหาวิธีการค้นหาข้อมูลโดยใช้ Google เราก็พิมพ์คำสำคัญ คือ การค้นหาข้อมูล แต่บางครั้งข้อมูลอาจจะมีเยอะก็ค่อย ๆ เพิ่มคำสำคัญ ๆ เข้าไป


เทคนิคของเว็บ Google ที่จะแนะนำ คือ
              1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
              2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
              3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
              4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
              5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission      3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
            6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
            7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)


แบบทดสอบ บทที่ 8
1. เราต้องการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นเพื่อเข้าไปค้นหาข้อมูลเราต้องรู้จักอะไรก่อน
                ก. URL                           ข. PUN
              ค. Search                         ง. Robot
2. “เครื่องจักรค้นหาคือ
                ก. Search Engines           ข. Robot
                ค. PUN                                 ง. URL  
3. โปรแกรมช่วยในการค้นหาเรียกว่า
                ก. Robot                              ข. Search Engines          
                ค. Engine                             ง. Keyword
4. Search Directories คือ
                ก. การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่
ข. การค้นหาข้อมูลตามคำที่เจาะจง
ค. การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล
ง. การระบุคำในการค้นหา
5. Metasearch คือการค้นหาข้อมูลรูปแบบใด
                ก. การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่
ข. การค้นหาข้อมูลตามคำที่เจาะจง
ค. การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล
ง. การระบุคำในการค้นหา
6. การค้นหาโดยใช้ Search Engine แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
                ก. 2                                        ข. 3
                ค. 4                                        ง. 5
7. ข้อใดคือเว็บไซต์ที่ให้บริการการค้นหาข้อมูล
                ก. www.sanook.com
                ข. www.excite.com
ง. ถูกทุกข้อ
8. การระบุคำที่ต้องการค้นหา เรียกอีกอย่างว่าอะไร
                ก. Keyword                         ข. Search
                ค. Robot                               ง. Engine
9. การใช้โอเปอเรเตอร์ หรือบูลีน ใช้เมื่อใด
                ก. เมื่อต้องการเจาะจงในการค้นหาข้อมูล
                ข. เมื่อต้องการหาข้อมูลตามแหล่งข้อมูล
                ค. เมื่อต้องการหาข้อมูลตามคำระบุ
                ง. ไม่มีข้อใดถูก
10. เครื่องหมาย + หมายถึง
                ก. คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องมีคำนั้นอยู่ในเว็บเพจ
                ข. คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องไม่มีคำนั้นอยู่ในเว็บเพจ
                ค. มีคำใดคำหน่งเพียงคำเดียวก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดงให้
                ง. ผิดทุกข้อ

เฉลยแบบฝึกหัด
1. ก        2. ก        3. ก        4. ก        5. ค        6.ก         7. ง         8.ก         9. ก        10. ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น